วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

โขน-ความเป็นมา

 โขน

    โขน เป็นนาฏกรรมชั้นสูงของไทย มีการบันทึกว่ามีการแสดงโขนในสมัยอยุธยา เรื่องที่นิยมแสดงแสดงคือเรื่องรามเกียรติ ผู้แสดงสวมศรีษะแทนบทบาทของตัวละครนั้นๆ โดยการแสดงโขนนั้นมาจากการแสดง ๓ ประเภท

๑.หนังใหญ่


๒.กระบี่กระบอง



๓.ชักนาคดึกดำบรรพ์



เมื่อวันที่ 29 พฤษจิกายน ๒๕๕๙ โขนได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

โขนมี ๕ ประเภทด้วยกัน

๑.โขนกลางแปลง
    คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้างโรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เรื่องกวนน้ำอมฤต



๒.โขนนั่งราว
    โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว  เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)  มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง วันก่อนแสดงจะมีการแสดงเบิกโรงเป็นโขนตอน พระรามหลงเข้าสวนพวาของพิราพ เสร็จแล้วจึงหยุดแสดง และพักนอนค้างคืนที่โรงโขน วันรุ่งขึ้นจึงเริ่มแสดงตอนที่จัดเตรียมไว้ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า โขน นอนโรง


๓.โขนหน้าจอ
    โขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่  ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว  การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง  ผู้เชิดตัวหนังต้อง เต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"


๔.โขนโรงใน
    โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม  โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน  การ แสดงก็มีทั้งออกท่ารำเต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก โขนที่กรมศิลปากร นำมาจัดแสดงทุกวันนี้ก็ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ทั้งสิ้น



๕.โขนฉาก
    เกิด ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก และ ยังมีแยกออกมาอีกประเภท คือ โขนชักรอก โขนผู้หญิง โขนหน้าไฟ





อ้างอิง
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถนครพนม.//(๒๕๖๓).//{โขน}.//สืบค้นเมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓,/จาก http://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/parameters/km/item/โขน

https://ocac.go.th/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88/

https://sites.google.com/site/thimakhxngkarsaedngkhon/chak-nakh-dukdabrrph

https://hilight.kapook.com/view/71868

https://std40816.wordpress.com/2017/12/04/%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87/

http://drphot.com/lifestyle/archives/1788

https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=kB33CVL3TK4




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Game For Learning

 Game For Learning Wordwall แนะนำเว็บไซต์ Wordwall สร้างสื่อการสอนรูปแบบเกม หรือพิมพ์ใบงาน สร้างง่ายแค่คลิก รองรับภาษาไทย เว็บไซต์ Wordwall ...