วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

Game For Learning

 Game For Learning

Wordwall

แนะนำเว็บไซต์ Wordwall สร้างสื่อการสอนรูปแบบเกม หรือพิมพ์ใบงาน สร้างง่ายแค่คลิก รองรับภาษาไทย
เว็บไซต์ Wordwall เป็นเว็บไซต์ที่คุณครูสามารถใช้ในการสร้างสื่อการสอนประเภทเกมออนไลน์ หรือหากนักเรียนไม่พร้อมสามารถพิมพ์เป็นใบงานให้นักเรียนทำได้ทันที ตรียมเนื้อหาครั้งเดียวได้ทั้ง 2 แบบ สร้างง่ายแค่คลิ๊กๆ มีเมนูไทย รองรับโจทย์และคำตอบเป็นภาษาไทย
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://wordwall.net/

โขน-ความเป็นมา

 โขน

    โขน เป็นนาฏกรรมชั้นสูงของไทย มีการบันทึกว่ามีการแสดงโขนในสมัยอยุธยา เรื่องที่นิยมแสดงแสดงคือเรื่องรามเกียรติ ผู้แสดงสวมศรีษะแทนบทบาทของตัวละครนั้นๆ โดยการแสดงโขนนั้นมาจากการแสดง ๓ ประเภท

๑.หนังใหญ่


๒.กระบี่กระบอง



๓.ชักนาคดึกดำบรรพ์



เมื่อวันที่ 29 พฤษจิกายน ๒๕๕๙ โขนได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

โขนมี ๕ ประเภทด้วยกัน

๑.โขนกลางแปลง
    คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้างโรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เรื่องกวนน้ำอมฤต



๒.โขนนั่งราว
    โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว  เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)  มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง วันก่อนแสดงจะมีการแสดงเบิกโรงเป็นโขนตอน พระรามหลงเข้าสวนพวาของพิราพ เสร็จแล้วจึงหยุดแสดง และพักนอนค้างคืนที่โรงโขน วันรุ่งขึ้นจึงเริ่มแสดงตอนที่จัดเตรียมไว้ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า โขน นอนโรง


๓.โขนหน้าจอ
    โขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่  ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว  การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง  ผู้เชิดตัวหนังต้อง เต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก ๒ ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"


๔.โขนโรงใน
    โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม  โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง ๒ วงผลัดกัน  การ แสดงก็มีทั้งออกท่ารำเต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก โขนที่กรมศิลปากร นำมาจัดแสดงทุกวันนี้ก็ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ทั้งสิ้น



๕.โขนฉาก
    เกิด ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก และ ยังมีแยกออกมาอีกประเภท คือ โขนชักรอก โขนผู้หญิง โขนหน้าไฟ





อ้างอิง
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถนครพนม.//(๒๕๖๓).//{โขน}.//สืบค้นเมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓,/จาก http://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/parameters/km/item/โขน

https://ocac.go.th/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88/

https://sites.google.com/site/thimakhxngkarsaedngkhon/chak-nakh-dukdabrrph

https://hilight.kapook.com/view/71868

https://std40816.wordpress.com/2017/12/04/%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87/

http://drphot.com/lifestyle/archives/1788

https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=kB33CVL3TK4




รามเกียรติ์ ตอนที่นิยมทำการแสดง

รามเกียรติ์ ตอนที่นิยมทำการแสดง


ตอนนางลอย

 ทศกัณฐ์ คิดหาทางยุติศึกชิงตัว นางสีดา กับพระราม โดยคิดว่าถ้า พระราม เห็นว่านางสีดา ตายไปแล้วก็คงจะยกทัพกลับไปเอง  จึงวางแผนให้ นางเบญกาย ลูกสาวของพิเภก แปลงกายเป็นนางสีดา ทำตายลอยน้ำไปที่หน้ากองทัพพระราม รุ่งเช้า พระราม ตื่นบรรทมพร้อมพระลักษณ์ 

จึงตรัสชวนพระลักษณ์และเหล่าวานร ไปสรงน้ำริมฝั่งแม่น้ำครั้นเห็น นางเบญกาย แปลง ตายลอยน้ำมา พระรามเข้าใจว่าเป็นนางสีดา จึงวิ่งเข้าอุ้มนางมาบนฝั่ง  หนุมาน เกิด เฉลียวใจว่านางสีดานี้อาจเป็นยักษ์แปลงมา เพราะตามร่างกายของศพไม่มีร่องรอยของการถูกทำร้ายและลอยทวนน้ำมาจนถึงหน้าพลับพลาเหมือนจงใจ จึงขอพิสูจน์โดยการนำศพมาเผาไฟ 

ถ้าเป็นนางสีดาจริง หนุมานยอมถูกประหารชีวิต พระรามเห็นด้วยจึงสั่งให้ สุครีพ ทำเชิงตะกอนเพื่อเผาศพ เมื่อเชิงตะกอนเสร็จจึงให้นำศพนางสีดามาวางบนเชิงตะกอนแล้วจุดไปเผา โดยเหล่าทหารวานรล้อมไว้ เบญกายครั้นโดนไฟเผาทนร้อนไม่ไหวจึงเหาะขึ้นตามเปลวควันหนีไป หนุมานจึงเหาะขึ้นไปตามจับนางเบญกาย มาถวายพระราม

ที่มา : https://www.komchadluek.net/news/edu-health/263191

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564


Obodroid

ไข่ต้ม หุ่นยนต์ผู้ช่วยส่วนตัว ถึงรูปทรงจะดูธรรมดาแต่ที่จริงแล้ว ไม่ได้ธรรมดาอย่างที่คิด 




    บริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Obodroid) จัดงานเสวนา “Living with Robots เมื่อหุ่นยนต์มาอยู่ในชีวิตเรา” เพื่อเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการและแนะนำหุ่นยนต์ภายใต้การพัฒนาของ Obodroid ซึ่งจะมีการนำไปใช้จริงภายในพื้นที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิต รวมถึงโครงการของ MQDC (บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด) โดยมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับคุณภาพการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน

นายพลณัฏฐ์ เฉลิมวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Obodroid) เปิดเผยว่า Obodroid บริษัทวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์บริการและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน จับมือกับพันธมิตร MQDC (บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทย พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจทั้งในด้านอสังหาริมทรัพย์และด้านอื่นๆ จนครอบคลุมถึงภาคการบริการทั่วไป

หุ่นยนต์ดังกล่าวจะเข้ามาเติมเต็มประสบการณ์การใช้ชีวิตที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัยและประชาชนทั่วไป หุ่นยนต์สัญชาติไทยที่นำมาจัดแสดงในงาน ได้แก่ ‘ไข่ต้ม (KAITOMM)’ หุ่นยนต์เพื่อน/ผู้ช่วยส่วนตัว (Companion/Personal Assistant Robot)


“ไข่ต้ม ไข่ต้ม เปิดไฟให้หน่อย” เสียงของใครบางคนดังขึ้น แล้วหุ่นยนต์ก็โต้ตอบเป็นภาษาไทย

อันที่จริง งานเสวนานี้เป็นการเปิดตัว บริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด อย่างเป็นทางการ พร้อมกับแนะนำหุ่นยนต์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น ซึ่งจะนำไปใช้จริงภายในพื้นที่อยู่อาศัยและช่วยให้ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้น ปลอดภัยขึ้น
“เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาหุ่นยนต์บริการและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยคำนึงถึงการนำไปใช้งานและก่อให้เกิดประโยชน์ สร้างคุณค่าในการยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน โดยเน้นให้หุ่นยนต์สามารถทำงานและอยู่ร่วมกันกับการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตของมนุษย์ได้อย่างกลมกลืน เช่น สามารถทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับโครงการที่พักอาศัยและสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพ” พลณัฏฐ์กล่าว
ซึ่ง Obodroid เป็นบริษัทที่รวบรวมวิศวกรชั้นนำของประเทศไทยที่มีความรู้ความชำนาญในด้านหุ่นยนต์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Robotics & AI) มารวมไว้ด้วยกัน บริษัทมุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์บริการ (Service Robots) เพื่อนำไปใช้งานจริงในการบริการด้านต่างๆ อาทิเช่น หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย, หุ่นยนต์ต้อนรับ, หุ่นยนต์โฆษณา, หุ่นยนต์ส่งของ, หุ่นยนต์เพื่อน/ผู้ช่วยส่วนตัว

อ้างอิง

https://www.salika.co/2020/12/18/kaitomm-by-thai-robot-developer/

https://www.matichonweekly.com/intrend/article_382163

Game For Learning

 Game For Learning Wordwall แนะนำเว็บไซต์ Wordwall สร้างสื่อการสอนรูปแบบเกม หรือพิมพ์ใบงาน สร้างง่ายแค่คลิก รองรับภาษาไทย เว็บไซต์ Wordwall ...